1. ซอฟต์แวร์คืออะไร
การที่คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์สามารถอ่านข้อมูลเข้ามาเพื่อทำการประมวลผล แล้วส่งผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นสารสนเทศให้เรานำไปใช้งานได้จำเป็นจะต้องมีชุดคำสั่งงาน หรือบางครั้งเรียกว่าคำสั่งอิเล็กทรอนิกส์ คำสั่งต่างๆ เหล่านั้นเขียนโดยนักเขียนโปรแกรม (programmer) และสามารถควบคุมคอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งที่เราต้องการได้
ซอฟต์แวร์ คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่บอกคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสได้แต่เราสามารถเห็นหรือสัมผัสได้แต่เราสามารถเห็นหรือสัมผัสหีบห่อที่บรรจุอยู่เช่น แผ่นบันทึกหรือแผ่นซีดี เมื่อเราซื้อซอฟต์แวร์นั้นมาใช้งาน
ไอคอนของซอฟต์แวร์ประเภทต่าง
1. ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี
ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีจะมีความแตกต่างกับซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์มินิและเมนเฟรม เนื่องจากลักษณะการใช้งานและออกแบบต่างกัน โดยทั่วไปแล้วซอฟต์แวร์แบ่งได้ 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software ) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) โดยมีรายละเอียดของซอฟต์แวร์แต่ละประเภทดังนี้
1. ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software )
เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และโปรแกรมประยุกต์ ใช้ในการควบคุมดูแลการทำงานทั้งหมดของระบบคอมพิวเตอร์ ขณะที่เรากำลังใช้โปรแกรมประยุกต์อยู่ซอฟต์แวร์ระบบจะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย
ระบบปฏิบัติการ (Operating Software หรือ OS )
เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ดแวร์ทุกส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันได้ อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ใช้ในการบริหารจัดการข้อมูลและทำแฟ้มข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การสำเนาข้อมูล (copy) การเรียงลำดับ (sort) การลบ (delete) และอื่นๆ นอกจากนั้นยังใช้ในการดำเนินงานของโปรแกรมประยุกต์ด้วย โปรแกรมที่พัฒนาจากระบบปฏิบัติการที่ต่างกันจะนำมาใช้ร่วมกันไม่ได้
ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้มากที่สุดในขณะนี้คือ
1. ระบบปฏิบัติการดอส (DOS) เป็นระบบปฏิบัติการที่รับคำสั่งจากผู้ใช้งานเป็นข้อความ (text mode) DOS มาจากคำว่า Disk Operating System อาจเป็น พีซีดอส (PC-DOS) หรือ เอ็มเอสดอส (MS-DOS) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ก็ได้ ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมแล้ว
2. ระบบปฏิบัติการแบบวินโดวส์ พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เป็นระบบปฏิบัติการทำงานที่ทำงานด้วยคำสั่งกราฟิกชนจอภาพโดยใช้เมาส์ในการควบคุมคำสั่งให้โปแกรมทำงานผ่านภาพกราฟิกที่เป็นสัญลักษณ์ต่างๆที่เรียกว่า สัญรูป หรือ ไอคอน (icon) เราเรียกว่าการทำงานแบบการประสานกับผู้ใช้ในลักษณะของกราฟฟิก GUI (graphical user interface) อ่านออกเสียงว่า “กุย” ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายกว่าระบบปฏิบัติการแบบดอส ระบบปฏิบัติการโดวส์ที่ได้พัฒนามามีใช้หลายแบบ เช่น วินโดวส์ 3.1 , วินโดวส์ 95 , วินโดวส์ 2000 ,วินโดวส์ มี (Windows me), วินโดวส์ เอ็นที(Windows NT) และวินโดวส์เอ็กซ์พี เป็นต้น
3. ระบบปฏิบัติการยูนิกส์ (UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้พัฒนามาเป็นเวลานานมากกว่าระบบดอส ระบบยูนิกส์มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง จึงนิยมใช้กับเครื่องที่ต้องการประสิทธิภาพการทำงานสูง เช่น เครื่องที่เป็นแม่ข่ายของระบบอินเทอร์เน็ต ระบบยูนิกส์ที่ใช้มีหลายระบบ เช่น Unix Ware , AIX , Linux , HP-UX และVMS เป็นต้น ระบบปฏิบัติการลินุกซ์สามารถใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้
4. ระบบปฏิบัติการแมค (MAC OS) พัฒนาโดยบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช ทำงานแบบเดียวกับโปรแกรมวินโดวส์ นิยมใช้งานประเภทการออกแบกราฟฟิก
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อให้เราสามารถใช้งานเฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการ เช่น งานพิมพ์เอกสาร งานพิมพ์รายงาน วาดภาพ เล่นเกม หรือโปรแกรมระบบบัญชี รายรับรายจ่าย และเงินเดือน โปรแกรมอินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ ใช้เพื่อการสืบค้นข้อมูลและเชื่อมโยง กับระบบอินเทอร์เน็ตก็ได้ เน้นการใช้งานสะดวก
ภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาเป็นสื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไป มนุษย์เราสามารถใช้สื่อได้หลายรูปแบบ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน และภาษามือ เป็นต้น มนุษย์มีภาษพูดและภาษาเขียนมาหลายพันปีแล้ว แต่ละชนชาติจะภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองหรืออาจคล้ายกันหรือต่างกันก็ได้ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน และอื่นๆอีกมากมาย โดยมีจุดประสงค์เดียวกันคือเป็นสื่อเพื่อติดต่อระหว่างกันได้โดยง่าย ในบางครั้งการสื่อสารต่างชาชาติอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ถ้าเราไม่ทราบความหมายของการสื่อสารนั้น เราจำเป็นต้องมีล่ามเป็นผู้ถ่ายทอดอีกครั้งหนึ่ง คอมพิวเตอร์ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตแต่ทำไมทำงานได้ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อช่วยในการทำงานตั้งแต่งานที่ง่ายไปจนถึงงานที่มีความสลับซับซ้อนมาก คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งที่มนุษย์กำหนดไว้ให้ทำ จึงมีการกำหนดภาษาขึ้นมาใหม่เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจคำสั่งของมนุษย์ เราเรียกภาษานี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ หรือ ภาษาประดิษฐ์ (computer language) เป็นภาที่ติดต่อกันระหว่าง
มนุษย์และคอมพิวเตอร์
ระดับภาษาคอมพิวเตอร์
มนุษย์มีปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการทำงาน การติดต่อสื่อสาร การขนส่งและอื่นๆ อีกมากมายที่จะต้องทำและแก้ไข ซึ่งปัญหาต่างๆเหล่านี้จะต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ช่วยทำให้ จึงต้องมีการติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์เนื่องจากคอมพิวเตอร์เข้าใจเฉพาะเลข 0 กับเลข 1 เท่านั้น จึงมีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้น ภาษาคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่มนุษย์ใช้ในการติดต่อสื่อสารและสั่งงานคอมพิวเตอร์ จะมีความยากง่ายแตกต่างกัน ขึ้นกับระดับความรู้ความสามารถของในการใช้งานและกลุ่มผู้ใช้ เราสามารถแบ่งภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบันได้ 3 ระดับ คือ ภาษาเครื่อง ภาษาระดับต่ำ และภาษาระดับสูง
1. ภาษาเครื่อง (machine language) เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้โดยตรง ซึ่งการเขียนคำสั่งให้กับคอมพิวเตอร์เป็นภาษาเครื่องนั้นยากต่อการเข้าใจ องค์ประกอบของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยเลข 0 และเลข 1 หรือระบบเลขฐานสอง(Binary System) เมื่อส่งผ่านให้คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ
2. ภาษาระดับต่ำหรือภาษาแอสเซมบลี (low level or assembly language) เป็นภาษาที่ใกล้เคียงภาษาเครื่องหรือเครื่องเข้าใจง่ายโดยมาก จะเป็นคำย่อที่วิศวกรคอมพิวเตอร์กำหนดขึ้นเพื่อให้ทำงานได้เร็วมากขึ้น กว่าการใช้ภาษาเครื่อง
3. ภาษาระดับสูง (high level language ) ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายเหมือนภาอังกฤษทั่วไป ที่ใช้สื่อความหมายในการเขียนโปรแกรมหรือคำสั่งเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามที่เราต้องการ ได้แก่ ภาษาเบสิก (BASIC) ภาษาโลโก (LOGO) ภาษาซี ภาษาโคบอล เป็นต้น ตัวอย่างภาษาโลโกเราสามารถใช้คำสั่งได้ดังนี้
LEFT ให้เลี้ยวซ้าย
RIGHT ให้เลี้ยวขวา
INPUT รับข้อมูล,ใส่ข้อมูล
FORWARD เคลื่อนไปข้างหน้า